อำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา

บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ สถานศึกษามีบทบาทหน้าที่ดังนี้

  1. จัดทำนโยบาย แผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนบริบทและความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
  2. จัดตั้งงบประมาณ และรับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณของสถานศึกษา
  3. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและความต้องการของนักเรียน ชุมชน และท้องถิ่น
  4. จัดการเรียนการสอน สภาพแวดล้อม บรรยากาศการเรียนการสอนที่เหมาะสมและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาอยางต่อเนื่อง
  5. ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศและแนวปฏิบัติต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
  6. กำกับ ติดตาม ประเมินผลงานตามแผนงาน โครงการและประเมินผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนการพิจารณาความดีความชอบ การพัฒนา และการดำเนินการทางวินัยกับครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
  7. ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษารวมทั้งปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา
  8. จัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ความร่วมมือในการประเมินคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา รวมทั้งการรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  9. ส่งเสริมความเข้มแข็งให้กบชุมชนและสร้างความสัมพันธ์กับสถานศึกษา และสถาบันอื่นในชุมชน และท้องถิ่น
  10. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวกับกิจการภายในสถานศึกษาหรือตามที่ได้รับมอบหมายและตามที่กฎหมายกำหนด

ด้านการบริหารวิชาการ

  1.  พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและท้องถิ่น
  2. จัดการเรียนการสอน สภาพแวดล้อม บรรยากาศการเรียนการสอนที่เหมาะสม และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
  3. จัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และรายงานผลการประเมินให้คณะกรรมการสถานศึกษารับทราบ

ด้านการบริหารงบประมาณและแผนงาน

  1. จัดตั้งและรับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณของสถานศึกษา ตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนด
  2. ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และแนวปฏิบัติ ฯลฯ เกี่ยวกับการบริหารการเงินและการจัดหารายได้จากทรัพย์สินของสถานศึกษา ทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนด

ด้านการบริหารงานบุคคล

  1. ดำเนินการตามที่กฎหมายว่าด้วยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนด

ด้านการบริหารทั่วไป

  1. จัดทำนโยบาย แผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
  2. ดำเนินการและกำกับ ติดตาม และประเมินผลงานตามแผนงาน โครงการของสถานศึกษา
  3. ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา รวมทั้งปกครองดูแลบำรุงรักษา ใช้ และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษาตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนด
  4. ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศแนวปฏิบัติ ฯลฯ ในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนด
  5. ส่งเสริมความเข้มแข็งในชุมชนและสร้างความสัมพันธ์กับสถาบันอื่น ๆ ในชุมชนและท้องถิ่น
  6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษา หรือตามที่ได้รับมอบหมายและตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนด

ด้านการบริหารกิจการนักเรียน

  1. จัดระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย ภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย

บทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา

เป็นการกําหนดบทบาทและหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร ครู บุคลากร ผู้ปกครองและชุมชน ให้สอดคล้องกับนโยบายและวัตถุประสงค์ของโรงเรียน ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา มีบทบาทและหน้าที่ต่อไปนี้

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยจํานวนและคุณสมบัติ ตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยมีบทบาทดังนี้

  1. ร่วมวางแผนและให้ความเห็นชอบ แผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
  2. ส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงานของโรงเรียน
  3. วิเคราะห์สภาพของโรงเรียน
  4. ร่วมพิจารณาปรับปรุงส่งเสริม และให้ความเห็นชอบในการจัดทําแผนในโรงเรียน
  5. กําหนดยุทธศาสตร์ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาโรงเรียน
  6. ร่วมประเมินและรับทราบผลการดําเนินงาน
  7. ให้การสนับสนุนให้ข้อเสนอแนะเพื่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีคุณภาพ
  8. เผยแพร่ผลงานของโรงเรียน

บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทเป็นผู้นําการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยมีหน้าที่ในการจัดระบบการศึกษาและแผนงาน ควบคุม ดําเนินงานและบริหารงานด้านต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยโดยมีหน้าที่และบทบาทดังนี้

  1. บริหารงานตามนโยบายของหน่วยเหนือ
  2. บริหารงานในหน้าที่ ทั้งด้านการบริหารงานทั่วไป ธุรการ การเงินและพัสดุ งานวิชาการ
  3. อาคารสถานที่และงานชุมชน
  4. บริหารงานให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมายและวินัยของทางราชการ
  5. ให้ขวัญกําลังใจแก่บุคลากรในโรงเรียน
  6. ส่งเสริมให้บุคลากรทํางานเต็มกําลังความสามารถและตามศักยภาพ
  7. ปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

บทบาทหน้าที่ของครู อาจารย์
มีบทบาทเป็นผู้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน โดยมีหน้าที่ดังนี้

  1. ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ รักษาจรรยามารยาทของครูอาจารย์
  2. ทําหน้าที่อบรมสั่งสอนนักเรียนให้มีความรู้ ความประพฤติที่ดีงาม
  3. ช่วยรับผิดชอบการบริหารงานร่วมกับผู้บริหาร
  4. ช่วยเหลืองานโรงเรียนตามที่ได้รับมอบหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  5. ประพฤติปฏิบัติตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อนักเรียนและสังคม
  6. ศึกษาค้นคว้า เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  7. ติดตามช่วยเหลือศิษย์ของตนอยู่เสมอ

บทบาทหน้าที่ของนักการภารโรง
มีบทบาทในการรักษาความปลอดภัยของโรงเรียนและดูแลบํารุงรักษาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้น่าอยู่ น่ามาศึกษาเล่าเรียน โดยมีบทบาทดังนี้

  1. ปฏิบัติงานด้านรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินของทางราชการ
  2. ปฏิบัติงานด้านความสะอาดของอาคารสถานที่
  3. ตกแต่งสวนไม้ดอกไม้ประดับ ถนนภายในโรงเรียนให้สวยงาม
  4. ดูแลรักษางานด้านสาธารณูปโภค น้ําดื่ม น้ําใช้ให้เพียงพอ
  5. ดูแลการเปิด-ปิดประตู หน้าต่างของอาคารเรียนให้เรียบร้อย
  6. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่โรงเรียนมอบหมาย

บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครองและชุมชน
ผู้ปกครองและชุมชน มีบทบาทเป็นผู้สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ดังนี้

  1. ศึกษาถึงระเบียบ ข้อบังคับของโรงเรียน
  2. ศึกษารายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
  3. ให้การสนับสนุนในกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพการเรียนการสอน
  4. รับผิดชอบความประพฤติตลอดทั้งการแต่งกายตามระเบียบของโรงเรียน
  5. อบรมลูกหลานให้ปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียน
  6. เข้าร่วมประชุมเพื่อฟังคําชี้แจง ให้ข้อเสนอแนะกับทางโรงเรียน

บทบาทหน้าที่ของนักเรียน
นักเรียนมีหน้าที่ในการศึกษาเล่าเรียนและประพฤติตามระเบียบของทางโรงเรียนโดยปฏิบัติดังนี้

  1. นักเรียนต้องแต่งกายด้วยเครื่องแบบที่ถูกต้องตามระเบียบที่ทางโรงเรียนกําหนด
  2. นักเรียนต้องมีวินัย คุณธรรม จริยธรรมและรู้จักคุณค่าของวัฒนธรรมไทย
  3. นักเรียนต้องให้การเคารพ ศรัทธา เชื่อฟังบิดา-มารดา ผู้ปกครอง ครู-อาจารย์
  4. นักเรียนต้องประพฤติตามระเบียบ ข้อบังคับและแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่โรงเรียนกําหนด
  5. นักเรียนต้องปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ เพศ วัย และมีความสุภาพอ่อนโยนทั้งกาย วาจา ใจ
  6. นักเรียนต้องมาโรงเรียนให้ทันเวลา ไม่ขาดเรียน ไม่หนีเรียนและเข้าเรียนให้ตรงเวลา
  7. นักเรียนต้องตั้งใจศึกษาเล่าเรียน
  8. นักเรียนต้องไม่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ไม่เสพสารเสพติดและไม่เล่นการพนันทุกชนิดทั้งนอกและในโรงเรียน
  9. นักเรียนต้องมีความซื่อสัตย์ รักความสามัคคี ไม่ก่อเหตุทะเลาะวิวาท หรือร่วมกลุ่มกันสร้างความเสื่อมเสียแก่ตนเองและผู้อื่น
  10. นักเรียนต้องรับผิดชอบร่วมกันในการดูแลรักษาความสะอาดห้องเรียน อาคารเรียนสิ่งก่อสร้าง บริเวณโรงเรียน ตลอดจนดูแลรักษาต้นไม้ในโรงเรียน
  11. นักเรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน กิจกรรมชุมชนและร่วมบําเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
  12. นักเรียนต้องช่วยกันสร้างและรักษาเกียรติคุณของโรงเรียน
Top